จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

รู้ทันค่าเสียหายส่วนแรก (Excess และ Deductible) ก่อนถูกประกันหลอก



ค่าเสียหายส่วนแรก (Excess และ Deductible)

เรามักจะได้ยินคำนี้เวลาพูดถึงการเคลมประกันภาคสมัครใจ แต่เราเข้าใจเรื่องนี้ดีพอมั้ยครับ หรือเคยรู้มั้ยครับว่า บางครั้งการยอมจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกกลับจะทำให้เราประหยัดค่าเบี้ยประกันลงได้มากทีเดียว หรืออย่างน้อยก็เหมือนชะลอการจ่ายเบี้ยประกันให้ช้าลง ลองมาทำความเข้าใจกันดู

สำหรับความหมายโดยรวมของ "ค่าเสียหายส่วนแรก" คือ ค่าความเสียหายส่วนแรก แปลง่าย ๆ ก็คือ ค่าสินไหมทดแทนส่วนแรกที่ผู้เอาประกันภัยตกลง (ปลงใจ - สมัครใจ) รับภาระเอง โดยจะระบุไว้เป็นข้อตกลงในกรมธรรม์ นั่นเอง

ตัวอย่าง สมมติค่าเบี้ยประกันปกติอยู่ที่ 25,000 บาท แต่เราทำข้อตกลงกับบริษัทว่า หากเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง เราจะจ่ายค่าเสียหายในส่วนแรก 5,000 บาท (อาจจะซ่อมรถเรา หรือชดเชยค่าเสียต่อทรัพย์สินคนอื่น) เราจะได้สิทธิจ่ายเบี้ยประกันลดลง 5,000 บาท ( จ่ายเบี้ยทำประกันรถยนต์แค่ 20,000 บาท) ในระหว่างที่อยู่ในระยะประกันนั้น ถ้าเกิดอุบัติเหตุและเราเป็นฝ่ายผิด เมื่อบริษัทประเมินความเสียหายแล้ว อยู่ที่ 8,000 บาท ดังนั้น เราต้องจ่าย "ค่าเสียหายส่วนแรก" เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท ตามที่ได้ทำข้อตกลงไว้ตอนที่ทำกรมธรรม์ประกันรถยนต์ ส่วนที่เหลืออีก 3,000 บาท บริษัทจะจ่ายต่อไป แต่ถ้าความเสียหายไม่เกิน 5,000 บาท เราก็จ่ายให้คู่กรณีตามค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริง

ที่มาของกฎนี้ คือ คปภ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย) ต้องการให้เราไม่ประมาทและให้เราเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่รถให้ปลอดภัย ไม่เกิดค่านิยมคอยโยนภาระของตนเองให้คนอื่น ๆ (บริษัทประกัน) หรือไม่ตระหนักป้องกันไม่ให้เกิดความเดือดร้อนแก่คนอื่น (เพราะคิดว่าไม่ต้องทำอะไร ประกันจะทำให้หมด ซึ่งเป็นค่านิยมและความเข้าใจที่ผิด)

ดังนั้น ค่าเสียหายส่วนแรก ทั้ง Excess และ Deductible นั้น จะมีขึ้น (ต้องเสียตังค์) ก็ต่อเมื่อการเกิดเหตุความเสียหาย (เพราะขับรถที่เราทำประกันภัยไว้) และเราหรือผู้ขับขี่รถ (ที่ทำประกันภัย) เป็นฝ่ายต้องรับผิดในเหตุการณ์นั้น ๆ (ชนท้ายคนอื่น หรือซุ่มซ่ามชนประตูรั้วบ้านตัวเอง) หรือทำเราผิดจากสัญญาในกรมธรรม์เท่านั้นแบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้ครับ

1. Excess (เอ็กเซส ไม่ใช่ แอ็คเซฟหรือแอคเซสตามที่หลายคนอ่านผิด)
ความเสียหายส่วนแรกในกรณีทำผิดสัญญา พูดง่าย ๆ คือ เรา (ผู้เอาประกันภัย) เป็นฝ่ายผิดไม่พอ ยังละเมิดข้อตกลงที่ระบุไว้ในกรมธรรม์อีก พิกัดอัตราจึงเป็นไปตามที่ คปภ. กำหนดไว้ (ในที่นี้ยกตัวอย่างประกันชั้น 1) ได้แก่

1) กรมธรรม์แบบระบุชื่อคนขับ (เบี้ยประกันจะถูกว่าไม่ระบุชื่อคนขับ) แต่เราอนุญาตให้คนอื่นขับขี่ เมื่อเกิดอุบัติเหตุและเป็นฝ่ายผิด เราจะต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายแต่ละครั้ง ดังนี้
ก. 2,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก (รถ อาคาร กำแพง ฯลฯ)
ข. 6,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อตัวรถยนต์ของเรา (ที่เกิดการชน / คว่ำ)

2) ใช้รถผิดจากประเภทจากที่ระบุในกรมธรรม์ เช่น กรมธรรม์ระบุการใช้รถยนต์ว่า "ใช้ส่วนบุคคล ไม่ใช่รับจ้างหรือให้เช่า" แต่เราเอาไปหาลำไพ่รับจ้างส่งของ เอาไปให้เช่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วคนที่ขับเป็นฝ่ายผิด เราต้องรับผิดชอบเอง 2,000 บาทแรก สำหรับความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก (รถ อาคาร กำแพง ฯลฯ)

2. Deductible สำหรับ Deductible จะแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
กรณีที่ 1: ความเสียหายที่ไม่เกิดจากการชนหรือคว่ำ หรือ ชนแต่หาคู่กรณีไม่ได้ หรือ เราไม่ได้ขับรถชนเองแต่เราไม่สามารถระบุเหตุความเสียที่ชัดเจนพอที่จะให้บริษัทประกันไปไล่เบี้ยหาต้นเหตุจนพบคนที่ต้องรับผิดชอบได้ เราจะต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก 1,000 บาท สำหรับความเสียหายต่อตัวรถยนต์ของเรา เช่น

1. ถูกมุ่งร้าย กลั่นแกล้ง แล้วหาคู่กรณีไม่ได้ เช่น รถถูกขีดข่วน
2. เสียหายส่วนพื้นผิวสีรถ (ตัวรถและอุปกรณ์ในรถไม่เสียหาย) เช่น หินกระเด็นใส่ เฉี่ยวกิ่งไม้/สายไฟ/ลวดหนาม ขับรถตกหลุม / ครูดพื้นถนน เหยียบตะปูหรือของมีคมหรืออะไรที่ทำให้ยางฉีก ละอองสีปลิวมาโดน / วัสดุหล่นมาโดน
3. ระบุสาเหตุที่ทำให้รถเสียหายไม่ได้ รวมถึงระบุวัน เวลา สถานที่เมื่อรถเกิดความสียหายที่ชัดเจนไม่ได้ เช่น กระจกรถแตก ถูกสัตว์กัดแทะหรือขีดข่วนถูกวัสดุในตัวรถกระแทก
4. ไถลตกข้างทางแต่ยังไม่พลิกคว่ำ
5. ชนกับพาหนะอื่นแต่แจ้งรายละเอียดคู่กรณีไม่ได้

พูดง่าย ๆ คือ ถ้าไม่ต้องการจ่าย ต้องสามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นการชน หรือ ระบุเหตุความเสียที่ชัดเจนพอที่จะให้บริษัทประกันไปไล่เบี้ยหาต้นเหตุจนพบคนที่ต้องรับผิดชอบได้ เช่น
1. ชนกับพาหนะอื่นและแจ้งรายละเอียดคู่กรณีให้ได้ (ติดกล้องวงจรปิดสำหรับรถยนต์ไว้ชนครั้งเดียวก็คุ้มแล้ว)
2. ชนกับที่ยึดแน่นตรึงตรากับพื้นดิน
- เสา / ประตู / เสาไฟฟ้า / กำแพง / ป้ายจราจร
- ทรัพย์สินอื่นที่ยึดแน่นตรึงตรากับพื้นดิน
3. ชนต้นไม้ยืนต้น / ฟุตบาธ / ราวสะพาน
4. ชนกองดิน หรือชนหน้าผา
5. ชนคน / สัตว์
6. รถพลิกคว่ำ

กรณีที่ 2: ความเสียหายส่วนแรกโดยสมัครใจ โดยเป็นการตกลงกัน ระหว่างบริษัท (ประกันภัย) กับเรา (ผู้เอาประกัน) โดยบริษัทจะยินยอมลดเบี้ยประกันลงเท่ากับค่าเสียหายส่วนแรกที่เราสมัครใจจ่ายเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นในแต่ครั้ง (นอกเหนือกรณีการจ่ายค่า Excess หรือ deductible ในกรณีที่ 1) โดยเราสามารถเลือกได้ 2 ประเภทความคุ้มครอง คือ คุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ของรถเราเอง (ที่ทำประกัน ซึ่งก็ต้องเป็นกรณีของการชน) หรือคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินบุคคลภายนอก (รถหรือทรัพย์สินอื่น ๆ ของคู่กรณีที่เกิดความเสียหาย)

สิ่งที่น่าสนใจสำหรับการยอมจ่ายแบบสมัครใจก็คือว่า สถิติการขอเคลมประกันเฉลี่ย (หลายท่านอาจจะไม่เคยรู้) ถ้าได้อ่านต่อไป ท่านจะสนใจแน่นอน
· 1 คน จะขอเคลม 1 ครั้งในทุก 3 ปี สำหรับอุบัติเหตุทั่วไป
· 1 คน จะขอเคลม 1 ครั้งในทุก 10 ปี สำหรับอุบัติเหตุที่มีค่าความเสียหายมาก

ดังนั้น ยิ่งถ้าเรามีความระมัดระวังในการขับขี่ ไม่ใช่พวกมือใหม่หัดขับ มีวินัยจราจร ไม่ใจร้อนซุ่มซ่าม โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุและเป็นฝ่ายผิดก็น้อยลงอีก เมื่อเราเลือกรับผิดชอบความเสียหายส่วนแรกเอง เราก็จะประหยัดเบี้ยประกันภัยลง หรือแม้ต้องจ่ายอย่างน้อย 1 ครั้ง ก็เท่ากับชะลอการจ่ายเบี้ยประกันแบบไม่เลือกรับผิดผิดชอบค่าเสียหายส่วนแรกนั่นเอง

โดยสรุป
จะเห็นว่า เมื่อเราทำประกันภัยรถยนต์แล้ว ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่ต้องทำอะไรเลย หรือหากเราสมัครใจเลือกรับภาระเราเองบางส่วน (ซึ่งก็มาจากความผิดของเราเสียส่วนใหญ่) เราก็จะยิ่งประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้นนั่นเอง

วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ดูรถมือ สอง อย่างไรไม่ให้ถูกหลอก

ในการเลือกซื้อรถยนต์สักคัน เรา ต้องรถเหมือนการเปรียบเทียบข้อแตกต่าง เหมือนหาผิดพลาดของโครงสร้างที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

1.ต้องดูรถด้านซ้าน และด้านขวา 


ที่ต้องดูเพราะ จะต้องเปรียบเทียบ รอยตะเข็บ ของ หน้ารถ ฝา กระโปรง รถ ว่ามีระยะห่างเท่ากันหรือไม่รอยตะเข็บเท่ากันหรือไม่ เพราะหากโดนชนหนัก จะเปลี่ยน รูป ไปโดยสิ้นเชิง ทำให้ผู้ตัดสินใจ ได้ชั่งใจก่อนซื้อได้

2.ขอบยางกระจก บาน หน้า -  หลัง -  ข้าง

ต้องเปรียบเทียบดูรอยตะเข็บของยางที่ ต่อจากกระจกว่ามีความซีดไหมเท่ากันไหม ลักษณะนิ่ม หรือ แข็ง หรือ กระจกอาจโดนชนหนักจึงทำมายกบาน ซึ่งไม่ใช้ของเดิม ตรวจดู รอย ตะเข็บรอบคัน ตรวจดู รอยแตกร้าว เล็กๆ น้อยๆ ซึ่งอาจจะทำให้เกิด การแตก ขนาดใหญ่ได้ต่อไป

3. การเคาะฟังเสียงของรถ


การเคาะรถ ฟังเสียง ความดังของเสียงต้องเท่ากันใกล้เคียงกัน เราต้องเคาะ ตำแหน่งเดียวกัน เพื่อการเปรียบเทียบ เช่น เคาะ ประตูหน้า ซ้าย ก็ เคาะ ประตู หน้า ขวา เหมือนกัน ในตำแหน่งเดียวกัน และฟังเสียงต้องใส ไม่ ทึบ ต้องดังลักษณะใกล้เคียงกัน 

4.การดูปียาง


เช่น ยางปี 02 สัปดาห์ที่ 26 มาเทียบกับ ปี นี้ 2014 ก็ มี ความเสี่ยงที่จะระเบิดมาก หาก ดูรายละเอียดแล้ว เช่น รอยแตกลายงา ถ้ายาง มีดอกยางมาก หน่อย อย่าพึ่งไปตัดสินใจ 100 % ต้องดู ปียาง กดยางนิ่มไหมไม่แข็งกระด้าง

5.ห้องเครื่อง


ห้องเครื่องต้องดุ รายละเอียดต่างๆ ภายใน เช่น ยางแท่นเครื่อง หม้อน้ำ ไม่มีสนิม แบตเตอรรี่ ปีไหน หม้อลมเบรค สนิม มาก น้ำมันเครื่อง สีเข้ม กรองอากาศ ต้อง ขาว ขาไฟเรียบร้อยไหม

นี้คือการตรวจสภาพรถคราวๆ ก่อนการตัดสินใจซื้อ เพราะเรา ต้องการของดี ราคาถูกกันทั้งนั้น ครั้งหน้าจะมาลงรายละเอียดมากขึ้นกว่านี้และเจาะลงไปในแต่ละส่วน ซึ่งเป็นเรื่องที่ ผู้ที่จะตัดสินใจซื้อรถ มือ สอง ต้องควรทราบก่อนการ ซื้อ ขายนะคับ

หากบทความนี้มีประโยชน์ก็ขอให้ผู้อ่านให้กำลังใจโดยการติดตาม บทความต่อๆไป ด้วยนะคับขอบคุณครับ 



วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557

อันดับที่ 9 เบรกมือไฟฟ้า

อันดับที่ 9 เบรกมือไฟฟ้า

                เราเริ่มเห็นมากขึ้นในรถยนต์อเมริกาตัวหรูกับเบรกมือไฟฟ้า ที่เริ่มติดตั้งมากขึ้น ข้อดีมันคือลดพื้นที่จากคันเบรกมือที่เอาไว้โยกกลายเป็นเพียงปุ่มที่ใช้นิ้วสะกิดก็เพียงพอต่อการใช้งาน แต่ที่จริงก็ไม่เข้าท่านัก เพราะ นัยหนึ่งของเบรกมือ มันคือเบรกฉุกเฉินด้วย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญการขับขี่ทั่วโลกกล่าวว่า คุณจะมีโอกาสรอดสูงขึ้นถ้ารู้จักใช้เบรกมือในยามฉุกเฉิน และเมื่อมันเป็นเบรกไฟฟ้า การทำงานที่ช้าของมัน ก็ทำให้ไม่สามารถตอบสนองยามฉุกเฉินได้ดีเท่าที่ควรนัก แต่ก็จริงอยู่ว่ายามหน้าสิ่วหน้าขวานจะมีใครคิดถึงเจ้าคันโยกข้างตัวหรือไม่


มาต่อกันในหน้าต่อไป

อันดับที่  8 สัญญาณเตือนวัตถุกีดขวาง


วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557

10 เทคโนโลยียานยนต์ ที่คุณไม่คาดคิด

10 เทคโนโลยียานยนต์ ที่คุณไม่คาดคิด

                ทุกวันนี้ เมื่อพูดถึงรถยนต์เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนั้นถือว่าเป็นคีย์สำคัญของการพัฒนารถยนต์ในการเพิ่มมูลค่าให้รถยนต์นั้นมีสิ่งที่ดีมากขึ้น ทั้งสมรรถนะและความสะดวกสบายหรือจะเป็นในเรื่องของความประหยัดเองก็ตาม

                เทคโนโลยีที่มากมาย ในทุกวันนี้ อาจจะทำให้หลายคนเชื่ออย่างสนิทใจว่า  เทคโนโลยีก็หมายถึงสิ่งที่ดีขึ้นตามลำดับ แต่ทั้งที่จริงแล้ว มันอาจจะไม่ได้ดีอย่างที่พวกเราเข้าใจ เช่นเดียวกันอาจจะเป็นสิ่งทำให้ยากขึ้นต่อการใช้งานด้วย และวันนี้เราจะมาดุว่า  10 เทคโนโลยีไม่เข้าท่าในโลกยานยนตืกันเลยว่า จะมีอะไรบ้าง



อันดับที่ 10 เครื่องเสียงระบบสัมผัส ของ  Chevrolet Volt

                บางทีความล้ำหน้าไปก็ทำให้อะไรดูจะไม่ลงตัว อย่างเช่นเจ้ารถไฟฟ้า  Chevrolet Volt  นี้เองที่มันทำให้หลายคนต้องแปลกใจกับความไม่ลงตัวด้วยระบบความบันเทิงที่ทั้งหมดนั้นไม่ใช่ปุ่มแต่เป็นการสัมผัส ซึ่งเมื่อคุณแตะมันจะรับคำสั่งไปปฏิบัติตาม แต่ อย่าคิดว่ามันจะดูรู้สึกเหมือนคำพูด เพราะเอาเข้าจริงตอนแตะไปมันรู้สึกแปลกๆ ไม่ได้เหมือนเราสัมผัสหน้าจอโทรศัพท์ ที่ใช้กันจนชิน อาจจะเรียกว่าเป็นสิ่งเดียวที่ Volt  ตกม้าตายก็ได้


มาต่อกันในหน้าต่อไป

อันดับที่ 9 เบรกมือไฟฟ้า

วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เทคนิคการนั่งรถตู้ให้ปลอดภัย


เทคนิคการนั่งรถตู้ให้ปลอดภัย


      รถตู้สาธารณะถือเป็นขนส่งมวลชนรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน แต่กลับได้ยินข่าวอุบัติเหตุที่เกิดจากความประมาทของคนขับรถตู้อยู่เรื่อยๆนะครับ หากว่าเราหลีกเลี่ยงที่จะต้องใช้บริการรถตู้โดยสารไม่ได้

1.ใช้บริการรถตู้ถูกกฏหมาย
     วิธีสังเกตรถตู้ที่วิ่งถูกกฏหมายง่ายๆคือ แผ่นป้ายทะเบียนต้องเป็นพื้นสีเหลือง หมายเลขทะเบียนสีดำ ด้านข้างระบุชื่อผู้ประกอบการขนส่งและเครื่องหมายการเข้าร่วมบริการ พร้อมระบุชื่อเส้นทางและหมายเลขเส้นทางอย่างชัดเจน

     2. เลือกตำแหน่งที่นั่งให้ดี
     หากเป็นไปได้ ควรเลือกตำแหน่งเบาะนั่งทางด้านขวาของรถ ให้อยู่ฝั่งเดียวกับผู้ขับ ซึ่งค่อนข้างปลอดภัยกว่าตำแหน่งอื่น ควรหลีกเลี่ยงการนั่งใกล้ประตูรถ เนื่องจากประตูอาจเปิดออกขณะเกิดอุบัติเหตุ อาจส่งผลให้ผู้โดยสารถูกเหวี่ยงออกนอกรถได้

     3. คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง
     ควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้ง เนื่องจากเข็มขัดนิรภัยจะเป็นตัวยึดให้ผู้โดยสารแนบอยู่กับเบาะนั่ง ป้องกันการถูกเหวี่ยงกระเด็นออกนอกตัวรถ ก่อให้เกิดอันตรายเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว

     4. หลีกเลี่ยงการงีบหลับ
     หลายคนที่ต้องโดยสารรถตู้เป็นระยะทางไกลๆๆ มักใช้เวลาในรถตู้ไปกับการนอนหลับ แต่นั่นเท่ากับเป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงโดยไม่รู้ตัว เพราะหากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาจริงๆ คุณแทบจะไม่มีสติในการช่วยเหลือตนเองเลย ทางที่ดีควรหากิจกรรมอื่นๆทำแทนเช่น ฟังเพลง เล่นเกม หรือคุยโทรศัพท์เบาๆเป็นต้น

     หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาจริงๆ เราสามารถลดโอกาสเสี่ยงในการบาดเจ็บได้ ด้วยการก้มศีรษะลงหรือโน้มไปทางด้านหน้า เก็บศอกให้ชิดลำตัวมากที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้ศีรษะและลำคอถูกเหวี่ยงและกระแทก ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงการบาดเจ็บและเสียชีวิตได้

     เพียงเท่านี้ การโดยสารรถตู้สาธารณะก็จะมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้นแล้วครับ

ติดตามบทความอื่นๆๆได้อีกมากมายที่ 


หรือ แฟนเพจ เรา 

ขับรถหน้าฝนให้ปลอดภัย

ขับรถหน้าฝนให้ปลอดภัย




      เข้าหน้าฝนกันแล้วฝนตกกระหน่ำแทบทุกวัน อีกเรื่องหนึ่งที่ควรคำนึงถึงคือ การตรวจเช็ก รถที่รักของเรา ให้พร้อมรับหน้าฝน เพื่อความปลอดภัย ในการขับขี่ช่วงหน้าฝน ลองมาดูกันนะครับว่าในหน้าฝนอย่างนี้ เราจะเตรียมความพร้อมอย่างไรให้ปลอดภัยถึงที่หมายแบบหายห่วง

      หากฝนตกหนัก ไม่ควรเปิดไฟฉุกเฉิน ในกรณีที่ฝนตกหนัก ไม่สมควรที่จะเปิดไฟฉุกเฉิน เนื่องจากไฟฉุกเฉินมีไว้เพื่อกรณีฉุกเฉินเท่านั้น และจะทำให้แยกไม่ออกหากมีรถที่ได้รับอุบัติเหตุ เปิดไฟฉุกเฉินและจอดที่ข้างทาง รวมทั้งจะไม่สามารถให้สัญญาณเมื่อต้องการเปลี่ยนเลน ทำให้ เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายจากการที่รถที่ตามมาด้านหลัง คาดเดาทิศทางของรถไม่ได้

     ตรวจสภาพยางให้พร้อม หมั่นตรวจสภาพยางก่อนใช้งานเสมอ และแน่ใจว่าคุณได้ทำตามขั้นตอนในการบำรุงรักษาดังต่อไปนี้ เติมลมยางให้เหมาะสม ตามข้อแนะนำของบริษัทผลิตรถยนต์ ซึ่งส่วนมากจะมีสติกเกอร์ข้อมูลแนะนำความดันลมยางปิดไว้บริเวณ ขอบประตูรถ และอยู่ในคู่มือประจำรถ ขนาดความดันลมยางที่อยู่บนแก้มยางเป็นตัวเลขที่บอกความสามารถในการรับแรงดันสูงสุดของยางเส้นนั้นๆ ไม่ได้เป็นแรงดันลมที่เหมาะสมในการใช้งาน คุณควรตรวจแรงดันลมยางอย่างน้อยเดือนละครั้งตรวจความลึกดอกยาง ความลึกเหมาะสมของดอกยางที่เหลือ อยู่เป็นตัวป้องกันการลื่นไถล หรือการเหินน้ำ

     ขับให้ช้าลง เมื่อฝนตก สิ่งสกปรกและน้ำมัน บนถนนจะรวมตัวกันทำให้ถนนลื่นทำให้รถเกิดการไถลได้ ทางที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงการลื่นไถล คือ การขับขี่ให้ช้าลง การขับขี่ที่ช้าลงทำให้ดอกยางสามารถสัมผัสถนนได้มากขึ้น ทำให้การเกาะถนนดีขึ้น

เรียนรู้ไว้ว่าต้องทำอย่างไร เมื่อเกิดการลื่นไถล ขึ้น การลื่นไถลเกิดขึ้นได้เสมอ จำไว้ว่าอย่าเหยียบเบรกอย่างรุนแรงเมื่อเกิดการลื่นไถล อย่าย้ำเบรกซ้ำๆ ถ้ารถของคุณมีระบบป้องกันล้อล็อกจากการเบรก (ABS) สิ่งที่ต้องทำเมื่อเกิดการลื่นไถลคือ เหยียบเบรกอย่างมั่นคง ที่ระดับความหนักที่สม่ำเสมอ และควบคุมพวงมาลัยให้อยู่ในทิศทางที่รถไถลไป

ทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้า ควรทิ้งระยะห่างจากรถคันหน้าพอสมควร เนื่องจากในสภาวะอากาศ ที่ไม่ปกติอาจจะเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา การทิ้งระยะห่างจากคันหน้าจะสามารถทำให้เราเตรียมพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้เสมอ

     เตรียมการสำหรับการเดินทาง การขับขี่บนถนนเปียกต้องการการควบคุมอย่างนุ่มนวลไม่กระแทกกระทั้น ในการบังคับเลี้ยว การเร่ง และ การเบรก เมื่อคุณขับรถในวันฝนตก รองเท้าอาจจะเปียกและลื่นออกจากแป้นคันเร่ง หรือเบรกได้ง่าย ให้เช็ดพื้นรองเท้ากับพรมรองพื้นในรถก่อนสตาร์ตเครื่องยนต์ ผู้ขับรถทุกคนควรตรวจไฟหน้ารถ ไฟท้าย ไฟเบรก และ ไฟเลี้ยวว่าสามารถ ทำงานได้ตามปกติ เมื่อถนนเปียกระยะเบรกจะเพิ่มเป็น 3 เท่า จากถนนแห้ง ดังนั้นในการขับขี่จะต้องเว้นระยะห่างจากคันหน้าให้มากขึ้น

เรียนรู้ว่าจะหลีกเลี่ยงและรับ มือกับการเหินน้ำได้อย่างไร การเหินน้ำเกิดขึ้นเมื่อปริมาณน้ำที่อยู่ที่หน้ายางรวมตัวกันมากกว่าปริมาณน้ำที่ยางสามารถไล่ออกไปได้ แรงดันของน้ำทำให้ยางยกตัวสูงขึ้นจากพื้นถนน และไถลอยู่บนฟิล์มบางๆ ของน้ำที่อยู่ระหว่างยางกับถนน ดังนั้นการเจอแอ่งน้ำตามถนนอาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ควรเตรียมพร้อมโดยการขับขี่ทั้งสองมือและประคองพวงมาลัยให้มั่นคงเมื่อคาดเดาว่าจะเจอแอ่งน้ำ เพราะการเหินน้ำจะทำให้รถสะบัดและอาจจะเปลี่ยนทิศทาง ได้ง่าย

     ถ้าฝนตกหนักมากให้หยุดรถ กรณีฝนตกหนักมากๆ ใบปัดน้ำฝนจะไม่สามารถปัดน้ำออกได้ทัน ถ้าฝนตกหนักจนมองทางไม่ชัดหรือมองรถคันอื่นไม่ชัดในระยะห่างที่ปลอดภัย ให้จอดรถในบริเวณที่ปลอดภัย จนกระทั่งฝนซา หรือ หยุด กรณีที่ต้องจอดบนไหล่ทาง ให้จอดรถห่างจากถนนให้มากที่สุด และเปิดไฟฉุกเฉินไว้ด้วย เพื่อเตือนให้รถที่วิ่งมารู้ว่ามีรถจอดอยู่ ฝนที่ตกในช่วงแรก ถนนจะลื่นที่สุด ทำให้ การขับขี่ยากที่สุดเพราะโคลน และน้ำมันที่อยู่บนพื้นผิวจะรวมตัวกับน้ำฝน กลายเป็นชั้นผิวลื่นๆ บนพื้นถนน ดังนั้นคุณต้องเพิ่มความระมัดระวังอย่างมากในช่วงที่ฝนตก



ติดต่อข้อมูลความรู้ข่าวสารได้ที่ 



หรือ แฟนเพจ เรา 


นะคับ