จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ข้อควรระวังในการทำหนังสือสํญญาประนีประนอมยอมความเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์


ประกันรถยนต์ จ่ายสด ลด 5% เช็คเบี้ยประกันรถยนต์ออนไลน์ ทราบผลทันที
พรบ. ต่อทะเบียน สั่งเช้าได้บ่าย ขาดต่อก็สามารถต่อได้ คลิ๊กเลย!
ประกันชั้น 2+ เริ่มต้น 720 บาท/เดือน ฟรี กระป๋าผ้าเอนกประสงค์ มูลค่า 199 บาท ด่วน! หมดแล้วหมดเลย
ส่วนลดเบี้ยประกันรถยนต์ สูงสุด 50% หรือ ผ่อน 0% นาน 10 เดือน


ข้อควรระวังในการทำหนังสือสํญญาประนีประนอมยอมความเมื่อเกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์

หลังจากบทความที่แล้วที่เขียนถึง “วิธีรับมือเมื่อรถคุณเกิดอุบัติเหตุ”ไปแล้ว และได้ติดค้างเรื่อง การทำหนังสือผูกมัด หรือ”หนังสือสัญญาประนีประนอมยอมความ”บทความนี้จึงขอนำข้อมูล จุดสังเกตข้อควรระวังต่างๆในการทำหนังสือผูกมัดมาฝากท่านผู้อ่านนะครับ
หนังสือผูกมัด หรือที่ศาลท่านเรียกว่า”หนังสือสัญญาประนีประนอม” ในการที่จะทำขึ้นมา อาจเป็นแค่กระดาษจดบันทึกกันเอง บันทึกประจำวันที่โรงพัก บันทึกที่ตำรวจ ทนาย หรือคนกลาง ทำให้คู่กรณีโดยตรง
มีข้อที่ท่านต้องพึงระวังดังนี้


คนที่จ่ายเงินต้องเป็นคนเซ็นชื่อเท่านั้น
จะให้คนอื่นที่ไม่ใช่คนจ่ายเงิน เซ็นเด็ดขาด คุณอาจจะไม่ได้เงิน เคยมีกรณีที่ลูกจ้างขับรถไปเกิดอุบัติเหตุ แล้วก็เซ็นยอมรับผิดตามที่ตกลง เถ้าแก่เจ้าของรถเซ็นแค่เป็นพยาน เรื่องไปถึงศาล ศาลท่านตัดสินว่า ไม่สามารถเรียกร้องเอาค่าเสียหายใดๆจากเจ้าของรถได้


อย่ารีบเซ็น
ถ้ายังไม่แน่ใจว่าบันทึกนั้นข้อตกลงค่าเสียหายหรือไม่ “อย่ารีบเซ็น” โดยเฉพาะบันทึกประจำวันที่โรงพักมักจะเขียนรวบรัดเรื่องค่าเสียหายไว้ด้วย ต้องระวัง


ใครมีอำนาจเซ็น
 ถ้าทางบริษัทหรือห้างร้านเป็นผู้รับผิดชอบ ต้องดูว่าใครมีอำนาจเซ็น ต้องมีตราประทับ ถ้าพิมพ์มือต้องมีพยานเซ็นรับรอง คนขึ้นไป


เขียนให้ชัดเจน
ต้องเขียนให้ชัดเจนทุกทุกเรื่อง เช่น ได้ค่าเสียหายเท่าไร จ่ายเมื่อใด รถเอาไปซ่อมให้หรือเปลี่ยนใหม่อย่างไร และรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ เพราะศาลถือว่าเขียนแค่ไหนได้แค่นั้น ถ้าอยากได้แต่ไม่เขียนไป อดนะครับ ถ้าทางผู้จ่ายตกลงจ่ายก่อนบางส่วนเฉพาะค่าทำศพ ค่ารักษาพยาบาล อย่าลืมเขียนเอาไว้ด้วยว่า ค่าเสียหายอื่นๆ มาตกลงกันอีกภายหลัง  ไม่งั้นได้ไปเถียงกันในศาลอีกยาว


เก็บหนังสือสํญญาประนีประนอมยอมความไว้ให้ดี
ถ้าเรื่องยังไม่เสร็จเรียบร้อยดี ต้องเก็บรักษาหนังสือสํญญาประนีประนอมยอมความ ไว้ให้ดีเพราะเราไม่อาจแน่ใจได้ว่าอีกฝ่ายจะเบี้ยวหรือผิดสัญญาในข้อใดหรือไม่


สุดท้าย การเซ็นชื่อในบันทึกข้อตกลง หรือบันทึกประจำวันในเรื่องค่าเสียหายนั้นสำคัญมาก จะชิงไหวชิงพริบ และขึ้นอยู่กับ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่าชำนาญทางกฎหมายขนาดไหน เอนเอียงหรือไม่ บันทึกข้อตกลง หรือบันทึกประจำวันในเรื่องค่าเสียหาย นี้ถูกใช้อ้างอิงในศาลมาแล้วนับไม่ถ้วน ถ้าไม่แน่ใจ ก่อนที่จะต้องเซ็น ต้องอ่านรายละเอียดต่างๆ สอบถามผู้รู้ ให้แน่ใจเสียก่อน
จะได้ไม่มานั่งเสียใจภายหลังครับ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น